ยาในสถานที่ทำงานต้องมีอะไรบ้าง? ชวนเปิดดูกฎหมายแรงงานเกี่ยวกับเวชภัณฑ์และยา

42167 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ยาเม็ดสีขาวและโต๊ะที่ล้อมรอบด้วยเก้าอี้สำนักงาน

ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิต และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ขาดไม่ได้ของสถานที่ทำงาน เพราะหากลูกจ้างเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน ก็ควรจะได้รับการปฐมพยาบาลอย่างทันท่วงที เวชภัณฑ์และยาจึงเป็นสิ่งจำเป็น และกฎหมายไทยก็กำหนดให้สถานประกอบกิจการจัดสวัสดิการให้กับลูกจ้าง ซึ่งครอบคลุมถึงสวัสดิการด้านเวชภัณฑ์และยาอีกด้วย

ยาและเวชภัณฑ์ประจำโรงงาน สำนักงาน ออฟฟิศ หรือโรงเรียน ต้องมีอะไรบ้างตามกฎหมาย

สำหรับสถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาในจำนวนที่เพียงพออย่างน้อยตามรายการที่กฎกระทรวงได้กำหนด ซึ่งอาจนำมาจัดหมวดหมู่เป็นรายการได้ดังนี้

  1. เวชภัณฑ์ทั่วไป ได้แก่ กรรไกร, แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด, เข็มกลัด, ถ้วยน้ำ, ที่ป้ายตา, ปรอทวัดไข้, ปากคีบปลายทู่
  2. เวชภัณฑ์และยาสำหรับปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บ ได้แก่ ผ้าพันยืด, ผ้าสามเหลี่ยม, สายยางรัดห้ามเลือด, สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าพันแผล และผ้ายางปลาสเตอร์ปิดแผล, หลอดหยดยา, ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือโพวิโดน-ไอโอดีน, น้ำยาโพวิโดน-ไอโอดีน ชนิดฟอกแผล, แอลกอฮอล์เช็ดแผล
  3. เวชภัณฑ์และยาสำหรับปฐมพยาบาลทั่วไป ได้แก่ ผงน้ำตาลเกลือแร่, ยาแก้ผดผื่นที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ, ยาแก้แพ้, ยาทาแก้ผดผื่นคัน, ยาธาตุน้ำแดง, ยาบรรเทาปวดลดไข้, ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก, ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร, แอมโมเนียหอม
  4. เวชภัณฑ์และยาเกี่ยวกับดวงตา ได้แก่ ขี้ผึ้งป้ายตา, ถ้วยล้างตา, น้ำกรดบอริคล้างตา, ยาหยอดตา

รายการเวชภัณฑ์และยาข้างต้นสามารถตรวจสอบได้ในกฎกระทรวง (ซึ่งนอกจากจะกำหนดให้มีเวชภัณฑ์และยาแล้ว ถ้าหากสถานที่ทำงานมีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่สองร้อยคนขึ้นไป ก็ยังกำหนดเพิ่มเติมให้มีห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์)

(ขอบคุณภาพจาก Anastasiia Ostapovych)

อย่าลืมจัดเก็บเวชภัณฑ์และยาให้พร้อมใช้งาน ไม่ว่าจะในตู้ยาหรือในห้องพยาบาล

และหลังจากจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาในสถานที่ทำงานแล้ว นายจ้างก็ควรจัดเก็บเวชภัณฑ์และยาอย่างเป็นระเบียบในสถานที่ที่เหมาะสม เช่น เก็บในตู้ยาที่สะอาด ไม่ถูกแสงแดด และไม่มีความชื้นสูง และติดป้ายบอกว่าเป็นตู้ยา นอกจากนั้นยังต้องตรวจสอบสภาพและวันหมดอายุของเวชภัณฑ์และยาเป็นประจำ เพื่อไม่ให้มีผู้บังเอิญใช้งานยาเสื่อมสภาพ

ทั้งนี้ แม้ว่าเวชภัณฑ์และยาตามรายการดังกล่าวครอบคลุมการปฐมพยาบาลอาการเจ็บป่วยทั่วไปในระดับหนึ่ง เช่น การบาดเจ็บ การเป็นไข้ หรืออาการวิงเวียน แต่นายจ้างก็สามารถจัดหาเวชภัณฑ์และยาเพิ่มเติมตามที่กฎหมายอนุญาตให้กับลูกจ้างเพื่อครอบคลุมอาการเจ็บป่วยทั่วไปที่หลากหลายยิ่งขึ้นได้ เช่น ยาอื่นๆ ในรายการยาสามัญประจำบ้าน

และหากคุณลูกค้าต้องการจัดซื้อยาสำหรับสถานที่ทำงาน บริษัท CKKEQUIPMED พร้อมให้คำปรึกษาและจัดจำหน่ายยาในรายการยาสามัญประจำบ้าน สามารถติดต่อสอบถามหรือขอใบเสนอราคาได้ที่

โทร : 062-887-7665

อีเมล์ : thongchai.c@ckkequipmed.co.th

ไลน์ : ckkequipmed

อ้างอิง

http://welfare.labour.go.th/attachments/article/192/welfare_2548.pdf

http://www.thaidrugwatch.org/download/series/series19.pdf

https://unsplash.com/photos/AypaEmWVH8I

https://unsplash.com/photos/Se7vVKzYxTI

https://unsplash.com/photos/KC_YU1hy0ik

** บทความนี้เป็นสิทธิ์ของบริษัท ซีเคเค อิควิปเมด จำกัด
สงวนสิทธิ์ทั้งบทความและภาพถ่าย ห้ามนำไปใช้ไม่ว่าจะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
ห้ามคัดลอก ดัดแปลง หรือนำไปใช้ ผู้ใดฝ่าฝืนจะดำเนินดคีตามกฏหมายอย่างถึงที่สุด
วันที่เขียน 1 ธันวาคม เผยแพร่ผ่าน https://www.ckkequipmed.co.th วันที่ 1 ธันวาคม 2563 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้