13574 จำนวนผู้เข้าชม |
“ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ชุดปฐมพยาบาลของท่านเตรียมพร้อมรับมือหรือยัง...?”
เหตุฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิด แต่ก็ยับยั้งไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสะดุดหกล้มในบ้านจนเกิดแผลฟกช้ำ การปวดหัวระหว่างการท่องเที่ยว หรือการท้องเสียในที่ทำงาน ไปจนถึงอุบัติเหตุที่รุนแรงยิ่งกว่านั้น ทั้งหมดที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทำได้ก็มีแต่ระมัดระวังไม่ให้เกิดเหตุฉุกเฉิน และเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่ตามมา
ชุดปฐมพยาบาลชุดแรกกำเนิดขึ้นเพื่อรับมือเหตุฉุกเฉิน สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1880 เต็มไปด้วยแรงงานก่อสร้างทางรถไฟ ซึ่งเป็นอาชีพเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต พวกเขามักประสบอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน ทำให้ต้องพยายามทำแผลกันเอง หรือไม่ก็วิ่งไปตามแพทย์ที่อยู่ใกล้ที่สุดมาซึ่งมักกินเวลานาน เพราะพื้นที่ก่อสร้างมักอยู่ห่างไกลเมือง ในที่สุดจึงมีนักธุรกิจคนหนึ่งที่ได้ยินปัญหาดังกล่าว และเริ่มรวบรวมยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในสถานการณ์ฉุกเฉินให้มาอยู่ในกล่องเดียวเพื่อจัดจำหน่ายเป็นชุดปฐมพยาบาลเป็นครั้งแรก
บ่อยครั้งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้ประสบเหตุไม่สามารถออกไปพบแพทย์หรือซื้อยาและเวชภัณฑ์ได้ในทันที แต่หากมีกระเป๋ายาไว้ใกล้ตัว ก็จะใช้บรรเทาอาการเบื้องต้นหรือใช้แก้ขัดก่อนไปทำการรักษาเพิ่มเติมได้ ชุดปฐมพยาบาลจึงควรมีไว้ ดีกว่าไม่มีอย่างแน่นอน
(ขอบคุณภาพจาก Marcus Aurelius จาก Pexels)
(ขอบคุณภาพจาก Roger Brown จาก Pexels)
รายการยาและเวชภัณฑ์ในชุดปฐมพยาบาลไม่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน ชุดปฐมพยาบาลพกพาที่ใช้ติดตัวนักวิ่งเทรล ก็อาจจะแตกต่างจากชุดปฐมพยาบาลที่จัดเตรียมไว้ใช้ในห้องครัวของโรงแรม แต่โดยทั่วไปแล้ว ยาและเวชภัณฑ์ที่จัดอยู่ในชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นก็มักอยู่ในรายการยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อและใช้รักษาตนเองเบื้องต้นได้โดยไม่จำเป็นต้องปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ เช่น
ทั้งนี้ ในชุดปฐมพยาบาลก็อาจใส่คู่มือการใช้งาน และสมุดบันทึกสำหรับจดบันทึกอาการ เพื่อหากไปพบแพทย์ภายหลังปฐมพยาบาล ก็จะสามารถให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยและการรักษาเบื้องต้นได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนั้น หากเป็นชุดปฐมพยาบาลส่วนตัว ผู้ใช้งานก็อาจใส่กระดาษบันทึกเบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อเมื่อทำหาย (หากเป็นชุดปฐมพยาบาลพกพา) ยาประจำตัวของตนเอง และข้อมูลทางการแพทย์เบื้องต้นของตนเองไว้ เช่น ยาที่แพ้ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หมู่เลือด เพื่อที่เมื่อต้องการใช้งานข้อมูลเหล่านี้ ก็จะได้พบทันท่วงที
(ขอบคุณภาพจาก Roger Brown จาก Pexels)
หลังจากซื้อหาจัดเตรียมชุดปฐมพยาบาลแล้ว ขั้นตอนต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการเก็บรักษาชุดปฐมพยาบาลที่ควรคำนึงถึงข้อสำคัญต่างๆ ดังนี้
ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ผู้ที่ต้องการใช้งานก็ควรสามารถหยิบยาและเวชภัณฑ์มาใช้ได้ในทันที ชุดปฐมพยาบาลจึงควรเก็บในจุดที่เข้าถึงได้ง่าย ในขณะเดียวกันตำแหน่งจัดเก็บก็ไม่ควรมีแสงแดด ความร้อน หรือความชื้นที่อาจทำให้ยาและเวชภัณฑ์เสียหายได้
ชุดปฐมพยาบาลคงไม่มีประโยชน์ใด ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วผู้ต้องการใช้งานไม่ทราบว่าชุดปฐมพยาบาลดังกล่าวอยู่ที่ใด ดังนั้นควรมีการบอกกล่าวหรือประชาสัมพันธ์ตำแหน่งจัดเก็บตั้งแต่ต้น และในสถานที่ทำงานหรือสถานที่สาธารณะก็ควรมีป้ายบอกตำแหน่งชุดปฐมพยาบาลติดไว้
ยาและเวชภัณฑ์มีวันหมดอายุ และมีโอกาสเสียหายจากปัจจัยภายนอก เช่น ความร้อน หรือความชื้น ผู้ใช้งานจึงควรตรวจสอบชุดปฐมพยาบาลเป็นประจำว่ามีสภาพสมบูรณ์และมีฉลากติดเรียบร้อยหรือไม่ ถ้าไม่ ก็ทิ้งยาและเวชภัณฑ์เสื่อมสภาพและซื้อของใหม่มาทดแทน มิฉะนั้น ถ้าหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ผู้ใช้งานก็อาจจะต้องผิดหวังเมื่อชุดปฐมพยาบาลใช้ไม่ได้ หรือซ้ำร้ายกว่านั้น คือใช้งานไปแล้วก่อนพบว่ายาและเวชภัณฑ์หมดอายุหรือเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้งานได้
(ขอบคุณภาพจาก Roger Brown จาก Pexels)
ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นและมีผู้เจ็บป่วย สิ่งแรกที่เรามองหาย่อมเป็นชุดปฐมพยาบาลเพื่อบรรเทาหรือรักษาอาการเฉพาะหน้า การจัดเตรียมชุดปฐมพยาบาลที่สามารถใช้งานได้ไว้ก่อนจึงสำคัญอย่างยิ่ง และหากคุณลูกค้าต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดปฐมพยาบาล หรือหาซื้อชุดปฐมพยาบาล ทางบริษัท CKKEQUIPMED ยินดีให้บริการ คุณลูกค้าสามารถติดต่อพวกเราได้ผ่านช่องทางดังนี้
โทร : 062-887-7665
อีเมล์ : thongchai.c@ckkequipmed.co.th
ไลน์ : ckkequipmed
https://www.redcross.org/get-help/how-to-prepare-for-emergencies/anatomy-of-a-first-aid-kit.html
https://firsteditionfirstaid.ca/blog/2018/03/12/where-you-need-to-have-a-first-aid-kit/
https://www.niems.go.th/1/News/Detail/2837?group=6
http://pirun.ku.ac.th/~b5310100334/page0503.html
https://ourstory.jnj.com/birth-first-aid-kit
https://www.kilmerhouse.com/2013/06/from-1888-to-2013-celebrating-the-125th-birthday-of-the-first-aid-kit
https://www.pexels.com/th-th/photo/4064177/
https://www.pexels.com/th-th/photo/5146534/
https://www.pexels.com/th-th/photo/5149757/
https://www.pexels.com/th-th/photo/5125690/
** บทความนี้เป็นสิทธิ์ของบริษัท ซีเคเค อิควิปเมด จำกัด
สงวนสิทธิ์ทั้งบทความและภาพถ่าย ห้ามนำไปใช้ไม่ว่าจะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
ห้ามคัดลอก ดัดแปลง หรือนำไปใช้ ผู้ใดฝ่าฝืนจะดำเนินดคีตามกฏหมายอย่างถึงที่สุด
วันที่เขียน 27 พฤศจิกายน 2563 เผยแพร่ผ่าน https://www.ckkequipmed.co.th วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564