อุปกรณ์สต๊อกน้ำนมแบบไหน ? ปลอดภัยสำหรับลูก

3906 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มาตรฐานขวดนม

จากบทความ ทำความรู้จัก ถุงเก็บนมแม่ สินค้าแม่และเด็กยอดนิยมในยุคนี้ ได้แนะนำถึงวิธีการสต๊อกนมแม่ตัวช่วยอำนวยความสะดวกในการให้นมน้อง รวมไปถึงวิธีเก็บรักษาน้ำนมให้สามารถใช้งานได้ยาวนานนั้น จะสังเกตุได้ว่าอุปกรณ์ทั้งหมดล้วนมีส่วนประกอบจาก พลาสติกทั้งสิ้น

สารบัญบทความ

ทำความรู้จักอุปกรณ์สต๊อกน้ำนมจากพลาสติก

อุปกรณ์สต๊อกน้ำนมที่เป็นที่นิยมมักจะทำมาจากพลาสติกเนื่องจาก มีน้ำหนักเบา และราคาไม่สูง แถมยังสามารถพิมพ์ลวดลายได้หลากหลาย มีรูปร่างแปลกใหม่สะดุดตา ทำให้มีจุดเด่นในตัวเอง และที่สำคัญยังสามารถเป็นภาชนะกักเก็บได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็น

  • ถุงซิปล็อค
  • ถุงเก็บน้ำนม
  • ซองอุ่นนม
  • เครื่องปั๊มนม
  • จุกหลอก
  • ขวดนม ฯ

 

 

พลาสติกแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร ?

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีเลือกใช้ พลาสติกให้ปลอดภัยไร้สารปนเปื้อนที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และ ความผิดปกติในการเจริญเติบโตของเด็กจากสารเหล่านี้อีกด้วย ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันมีหลากหลายลักษณะขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง-สี รวมไปถึงการนำมาใช้ประโยชน์

โดย อุปกรณ์สต๊อกนมจัดอยู่ในกลุ่มพลาสติกรีไซเคิลสามารถจำแนกชนิดของพลาสติกรีไซเคิลได้เป็น 7 ชนิด มีการแสดงไว้บนผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในเรื่องการคัดแยกพลาสติกสำหรับการรีไซเคิล มีตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ฐานของสามเหลี่ยม ซึ่งเรียกว่า “รหัสพลาสติก”กำหนดโดย NA Society of the Plastics Industry ในปี ค.ศ. 1988  ดังนี้

พลาสติกรีไซเคิล7ชนิด

ลักษณะ สัญลักษณ์คือ ลูกศรวิ่งวนเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า พลาสติกที่พบได้ง่ายและใช้กันมากที่สุดจะ มี 5 กลุ่ม ได้แก่

  • 1 PET ภาชนะสีใส ทนต่อแรงกระแทก
  • 2 HDPE ภาชนะสีขุ่นทึบ มีความทนทา ป้องกันแสงได้
  • 4 LDPE กลุ่มพลาสติกยืดหยุ่นได้ และรองรับน้ำหนักมากได้
  • 5 PE พลาสติกแข็ง มีความคงทนสูง
  • 7 Other พลาสติกสังเคราะห์เกิดจากการผสมพลาสติกรีไซเคิล กับสารอื่น ฯ

 

 

แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ทั้ง 5 กลุ่มนี้ปลอดภัย ?

ให้สังเกตเครื่องหมาย BPA Free ที่มากับแพคเกจของผลิตภัณฑ์ โดย BPA (Bisphenol) เป็นสารเคมีที่พบในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติก ทำให้มีความแข็งแรง และมีลักษณะโปร่งแสง ไม่แตกง่าย แต่หากผลิตภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้โดนความร้อน จากการต้มนึ่ง สเตอริไลซ์ หรือ การอุ่นร้อนด้วยไมโครเวฟฯ สาร BPA ในผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดนั้นจะหลุดปะปนในอาหารที่บรรจุอยู่ในภาชนะนั้นด้วย เช่น

  • ขวดน้ำพลาสติก
  • ขวดนมพลาสติก
  • ภาชนะใส่อาหาร ฯ

ทำไม ? ต้อง BPA Free 

หากภาชนะมีการปนเปื้อนสาร BPA เข้าสู่ร่างกาย จะส่งผลให้มีผลกระทบหลายส่วน ได้แก่

  • การสร้างเซลล์สมอง / ระบบประสาท
  • ความทรงจำ / การเรียนรู้
  • ฮอร์โมนการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ ทำให้เด็กเติบโตเร็วผิดปกติ
  • เด็กที่ได้รับสาร BPA มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน และไฮเปอร์แอคทีฟ
  • สาร BPA ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง
  • ในหญิงตั้งครรภ์ หากได้รับสาร BPA จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ความผิดปกติของโครโมโซม อาจทำให้เกิดโรคดาวน์ซินโดรม Hyperactivity หรือแท้ง

นอกจากนี้ BPA ยังส่งผลถึงจิตใจซึ่งอาจจะทำให้แม่และลูกที่เกิดมาไม่มีความรู้สึกของสายสัมพันธ์ระหว่างกัน (Bonding)ในเด็กทารกหากได้รับสาร BPA สะสมเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลกระทบที่รุนแรงกว่าในผู้ใหญ่มากเลยทีเดียว



แนะนำมาตรฐานรับรองการผลิตของสินค้า

ในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการรับรอง BPA Free ปราศจากสาร Bisphenol คุณแม่หลายท่านอาจจะยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยจึงมาทางเลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการ เปลี่ยนมาใช้ ขวดนมที่ผลิตจากแก้วแทนขวดนมพลาสติกหรือ เลือกจุกนมที่ทำจากซิลิโคนแทนยางหรือพลาสติกนุ่มนิ่มเเทนอุปกรณ์สต๊อกน้ำนมที่ทำจากพลาสติก นอกจากคุณแม่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษเรื่อง BPA Free แล้วการคำนึงถึงแหล่งผลิตก็สำคัญด้วยเช่นกันโดยมาตรฐานการผลิตทีเป็นที่ยอมรับในความปลอดภัยในกระบวนการผลิตของเหล่าผู้ประกอบการ ได้แก่

  • มอก. เป็นคำย่อมาจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด
  • GMP ย่อมาจาก Good Manufacturing Practice หากแปลอย่างตรงตัวก็จะหมายถึงกระบวนการผลิตที่ดี หรือในที่นี้ก็คือกระบวนการการผลิตที่ได้มาตรฐานนั่นเอง
  • HACCP ย่อมาจาก Hazard Analysis Critical Control Point ซึ่งหมายถึงการวิเคราะห์อันตราย จุดควบคุมวิกฤต เป็นแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนกระบวนการผลิต มีการดำเนินงานเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนสารเคมี หรือสิ่งสกปรกใดๆ โดยมีการศึกษาถึงอันตราย และหาทางป้องกันล่วงหน้ารวมทั้งมีการควบคุม และเฝ้าระวัง เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการป้องกัน ที่กำหนดขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพตลอดเวลาการผลิต
  • การสเตอริไลซ์ (Sterilization)เป็นการใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 °C ภายใต้ความดัน ทำลายเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมาในกระบวนการผลิต
  • เนื่องจากอุปกรณ์สต๊อกน้ำนมจัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารของเด็กโดยตรง องค์การอาหาร และ ยา หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม อย.ก็มีส่วนตรวจสอบ รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เช่นกัน

มาตรฐานคุณภาพ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

https://www.unionthai.com/
https://pharmacy.mahidol.ac.th/
BPA Free (babybestbuy.in.th)
Verasu
มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) - THE STEEL
https://baby.kapook.com/view32576.html
มาตรฐานGMP และ มาตรฐาน HACCP ต่างกันอย่างไรและมีความสำคัญอย่างไรบ้าง - Revomed Co.,Ltd.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้