ถุงเก็บน้ำนมสำหรับคุณแม่ หรือ ถุงเก็บนม สินค้าแม่และเด็กยอดนิยมในยุคนี้

2852 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ถุงเก็บนม

ในปัจจุบันสินค้าแม่และเด็กมีการผลิตออกมาในรูปแบบหลากหลาย ไม่เพียงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกคุณแม่กลุ่มผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังมีรูปลักษณ์สีสัน น่ารักดึงดูดสายตาลูกอีกด้วย โดยในหัวข้อที่เราจะพูดถึงคือ ถุงเก็บน้ำนม หรือ ถุงเก็บนม มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน รวมถึงการเลือกซื้อให้เหมาะกับการใช้งานอีกด้วย

สารบัญบทความ

ทำความรู้จักถุงเก็บน้ำนม การสต๊อกน้ำนม

ถุงเก็บน้ำนม เป็นตัวช่วยในการบรรจุนมแม่ เรียกว่า การสต๊อกน้ำนม นิยมนำมาใช้ในกรณีที่ คุณแม่มีน้ำนมในปริมาณมากจนลูกน้อยดื่มไม่ทัน, น้องไม่ยอมเข้าเต้า  และ ไม่สามารถให้นมได้ในทันทีฯ  น้ำนมในสต๊อกสามารถทำหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกคุณแม่ได้อย่างดีเยี่ยมโดยที่น้องยังคงได้รับสารอาหารครบถ้วนเทียบกับการเข้าเต้าเลยทีเดียว

วิธีการทำสต๊อกน้ำนม

การสต๊อกน้ำนมสามารถทำเองที่บ้านได้ และมีขั้นตอนไม่ซับซ้อนจนเกินไป รวมถึงเทคโนโลยีในยุคนี้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกให้เลือกใช้มากมาย โดยเราจะแบ่งเป็น 3 วิธี ดังนี้

การบีบน้ำนมออกจากเต้าด้วยมือ

การบีบน้ำนมด้วยมือนั้นจะให้ได้ผลดี ต้องเลียนแบบการดูดเต้านมของลูก ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นต่อมผลิตน้ำนมไปในตัว มีวิธีการดังนี้

  • ใช้นิ้วหัวแม่มือวางด้านบน นิ้วชี้และนิ้วกลางวางด้านล่างทำมือเป็นรูปตัว C วางนิ้วนั้นให้ห่างจากโคนหัวนมประมาณ 2.5 -3.1 ซ.ม.ตำแหน่งที่วาง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กับนิ้วกลางต้องอยู่ตรงข้ามกัน (เหมือนตำแหน่งของเข็มนาฬิกาที่ตรงข้ามกันคือ 12.00 น. และ 6.00 น.)
  • กดนิ้วเข้าหาตัวเอง ถ้าหน้าอกใหญ่ก็ทำเหมือนยกหน้าอกขึ้นหน่อยแล้วค่อยกดเข้าหาตัว โดยระวังไม่ให้นิ้วแยกจากกัน
  • ค่อยๆ กลิ้งนิ้วหัวแม่มือ (เหมือนกำลังพิมพ์นิ้วมือ) ลงมายังโคนหัวนม ระหว่างนั้นก็ผ่อนแรงกดด้านล่างจากนิ้วกลางมายังนิ้วชี้ การเคลื่อนไหวของนิ้วทั้งสามจะช่วยรีดน้ำนมออกมาโดยไม่เจ็บ คล้ายๆ การดูดของทารก

บีบน้ำนม

การใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า

ใช้งานง่ายกว่าชนิดธรรมดา และช่วยทุ่นเวลาในการปั๊มนม มีให้เลือกทั้งแบบเดี่ยว และ คู่  ทำให้ได้ปริมาณนมมากกว่า แบบปั๊มคู่ จะช่วยประหยัดเวลาในการปั๊มนมได้ดีกว่าแบบปั๊มเดี่ยว วิธีเลือกเครื่องปั๊มนมให้ดูที่

  • ฟังก์ชั่น รุ่นไหนแรงดูดดีกว่ากัน ปั๊มนมออกมาได้มากและเกลี้ยงเต้ากว่ากัน ร้านขายเครื่องปั๊มนมบางร้านสามารถให้คุณแม่ไปทดลองใช้สินค้า ก่อนตัดสินใจเลือกเครื่องที่เหมาะได้
  • เครื่องปั๊มแบบไฟฟ้าบางรุ่นอาจส่งเสียงดังขณะเครื่องทำงาน
  • ขนาด และน้ำหนักของเครื่องอาจไม่สะดวกต่อการพกพา

วิธีปั๊มไม่ยุ่งยาก แต่ละรุ่นจะมีขั้นตอน ดังนี้

  • วางกรวยเต้าสำหรับปั๊มนมบนหัวนม โดยให้กรวยอยู่ตรงกลางหัวนม ประคองเต้านมด้วยมือข้างเดียว โดยให้นิ้วโป้งอยู่ด้านบน ส่วนนิ้วที่เหลือประคองอยู่ด้านใต้เต้านม และระมัดระวังอย่าออกแรงดันหัวนมกับกรวยเต้านมมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดรอยที่ผิวบริเวณเต้านมได้
  • ปรับความเร็วและอัตราการปั๊มนมตามคู่มือการใช้เครื่อง โดยควรเริ่มต้นจากอัตราการปั๊มที่ต่ำและเร็ว
  • พอน้ำนมเริ่มไหลอย่างคงที่ ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 นาที แล้วจึงค่อยปรับความเร็วให้ช้าลงและเพิ่มอัตราการปั๊มขึ้น
  • การปั๊มนมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที เมื่อเรียบร้อยแล้ว ให้ค่อย ๆ นำกรวยเต้าสำหรับปั๊มนมออกจากเต้านม 
    หากลองปรับเปลี่ยนตามนี้แล้วยังรู้สึกเจ็บขณะปั๊มนม ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่ เพื่อช่วยหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขที่ถูกต้อง

เครื่องปั๊มนม

การใช้เครื่องปั๊มนมแบบก้านโยก หรือ เครื่องปั๊มมือ

สามารถควบคุมแรงดูดและความเร็วได้ตามต้องการ บางรุ่น มีระบบกระตุ้นและระบบการปั๊มนม ช่วยให้ปั๊มน้ำนมได้มากยิ่งขึ้น

แต่ละรุ่นมีวิธีการคล้ายๆกัน ได้แก่

  • นำกรวยครอบฐานเต้านม แล้วนำเครื่องปั๊มมาประกบ
  •  จากนั้นโยกคันโยก หรือ บีบลูกบอลปั๊ม ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ บีบง่าย และควบคุมแรงได้
  • บางรุ่นประกอบเข้ากับฝาครอบและจุกนม เพื่อใช้เป็นขวดนมป้อนลูกได้

เครื่องปั๊มนมด้วยมือ

ที่สำคัญคุณแม่ต้องคำนึงถึงความสะอาด ต้องล้างมือและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ด้วยความร้อนก่อนนำมาใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร 

การรักษาจัดเก็บน้ำนม ให้เหมาะสม

น้ำนมที่ได้จากการปั๊ม หรือการสต็อก จะมีระยะเวลาจัดเก็บรักษาขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเป็นหลัก

เปรียบเทียบสภาพอุณหภูมิอุณหภูมิ °C (องศาเซลเซียส)ระยะเวลาจัดเก็บ
อุณหภูมิห้อง27 - 32  °C3-4 ชั่วโมง
อุณหภูมิห้อง (ฤดูหนาว)16 - 26 °C4-8 ชั่วโมง
กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็ง15 °C24 ชั่วโมง
ตู้เย็น ช่องธรรมดา (ใส่ข้างในสุด)0 - 4 °C3-5 วัน
ช่องแช่แข็ง แบบประตูเดียว-15 °C2 สัปดาห์
ช่องแช่แข็ง แบบประตูแยก-18 °C3-6 เดือน
ช่องแช่แข็ง ตู้เย็นพิเศษ-20 °C6-12 เดือน
ตารางแสดง ผลกระทบของอุณหภูมิ และระยะเวลาจัดเก็บ

ไม่ควรเก็บน้ำนมไว้ที่ฝั่งประตูตู้เย็นเนื่องจากแรงเหวี่ยง อาจทำให้อุณหภูมิจัดเก็บไม่เสถียรก่อให้เกิดการเสื่อมคุณภาพ   และ น้ำนมสามารถรั่วไหลจากการบรรจุ ทำให้ง่ายต่อการเจือปนของเชื้อโรคได้

ก่อนนำเข้าจัดเก็บทุกครั้ง ต้องจดบันทึก ช่วงเวลา – วันที่ ลงบนถุงเก็บนม

เพื่อความสะดวกในการใช้งานและป้องกันน้ำนมค้างสต๊อก หรือ หากมีการรั่วไหลของถุงจัดเก็บจะได้ทราบว่าใช้บรรจุนมล็อตใดไว้นั่นเอง

 เจาะลึกการสตอคน้ำนมกับ คุณแพรว คุณแม่น้องเฌอร์ลินน์ จาก Youtube : PRAEW

ในวิดีโอของคุณแพรวให้ความสำคัญในเรื่องของความสะอาดและความปลอดภัยของนมแม่ที่ทำการสต๊อกไว้  เน้นย้ำถึงความเอาใจใส่ โดยขั้นตอนการเตรียมนมก่อนป้อนน้องมีหลายวิธี  อาทิ เช่น

  1. เมื่อต้องการนำนมแม่ที่แช่แข็งมาใช้ ให้นำลงมาแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาล่วงหน้า 1 คืน (12 ชั่วโมง) และสามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมง ไม่ควรนำนมแม่ที่ละลายแล้วกลับไปแช่แข็งอีก
  2. น้ำนมที่เหลือจากการป้อนน้อง หากต้องการเก็บไว้ป้อนอีกรอบ แนะนำให้ใช้ภายใน 1-2 ชั่วโมง
  3. ในกรณีต้องการอุ่นนมแม่ ไม่ควรนำเข้าไมโครเวฟหรือใช้น้ำร้อนจัด แต่ควรแช่ในน้ำอุ่นเพื่อไม่ให้คุณค่าของน้ำนมเสียไป

สิ่งที่คุณแม่ต้องคำนึงถึง ก่อนตัดสินใจซื้อ

สินค้าแต่ละแบรนด์จะมีลักษณะจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่คุณแม่จะต้องคำนึงถึงการใช้งานให้เหมาะสมจะมีอย่างน้อย 6 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

ขนาดที่เหมาะกับปริมาณน้ำนม

คุณแม่แต่ละท่าน มีปริมาณน้ำนมไม่เท่ากัน เหล่าผู้ประกอบการจึงได้ผลิตถุงเก็บน้ำนมออกมาให้มีขนาดหลากหลาย เริ่มตั้งแต่ 3 oz. - 10 oz. ให้คุณแม่ได้เลือกขนาดที่เหมาะกับปริมาณน้ำนมของตนเอง และ ขนาดที่เหมาะกับการจัดเก็บสต๊อก

จำนวนชั้นของซิบล็อก

จำนวนชั้นมาตรฐานสำหรับจัดเก็บของเหลวจะต้องมี2 -3 ชั้น เพื่อป้องกัน การรั่วไหลขณะจัดวางในแนวราบ และ ป้องกันสิ่งแปลกปลอม-เชื้อโรค เข้าไปผสมภายในถุงเก็บน้ำนม ผู้ประกอบการหลายราย ผลิตสินค้าออกมาในรูปแบบพร้อมใช้งานผ่านแพคเกจน่ารักสะดุดตา เช่น กลุ่มถุงเก็บน้ำนมที่มี Adaptor ต่อกับเครืื่องปั๊มนม เมื่อปั๊มเสร็จแล้วลูกสามารถ ดื่มได้ทันที  ลดความเสี่ยงในการปนเปื้อน จากการเปลี่ยนถ่ายระหว่างอุปกรณ์ได้

ลักษณะและคุณภาพของถุงเก็บน้ำนม

วัสดุที่เหมาะสำหรับใช้บรรจุของเหลว ได้แก่ พลาสติก และแก้ว โดยวัสดุที่เป็นพลาสติกจะได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากมีน้ำหนักที่เบา และ ราคาไม่สูงมาก บางชนิดมีความยืดหยุ่น สามารถจัดเก็บได้สะดวกและประหยัดพื้นที่การใช้งาน

คุณภาพของวัสดุ 

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก  คุณภาพและความปลอดภัยของวัสดุย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยกลุ่มสินค้าที่ทำมาจากพลาสติก ต้องเป็น

  • พลาสติก Food Grade  ที่สัมผัสอาหารได้โดยตรงไร้สารตกค้าง
  • มีเครื่องหมาย BPA Free กำกับที่แพคเกจ

ความหนาของแพคเกจ

เนื่องจากต้องจัดเก็บในที่เย็นความหนาของวัสดุนั้นต้องสามารถรองรับน้ำหนักของการวางซ้นทับ และ คงทนต่อความเย็น ไม่ฉีกขาด ขณะเคลื่อนย้าย เหล่าผู้ประกอบการได้คำนึงถึงความเสี่ยงเหล่านี้จึงได้ผลิตแพคเกจถุงเก็บน้ำนมออกมาให้มีความหนา 2-3 ชั้น เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน และบางรายผลิตให้มีความเเข็งแรงสามารถวางในแนวตั้งได้

มาตรฐานการผลิตจากผู้ประกอบการ

สินค้าคุณภาพ มักสังเกตุได้จาก  กลุ่มผู้ประกอบการที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี - มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในด้าน ความปลอดภัย ทั้งในองค์กร และ สินค้า

สังเกตุได้จาก เครื่องหมายของหน่วยงานต่างๆ ที่แสดงให้เห็นบนบรรจุภัณฑ์ สื่อถึงการผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพ - ตรวจสอบจากหน่วยงาน นั้นๆ มาแล้วผู้บริโภคสามารถวางใจและเชื่อถือได้ว่าปลอดภัยแน่นอน

ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ ได้มาตรฐานสากล

ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานสากลนั้นมักจะมีความน่าไว้วางใจค่อนข้างสูง เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมีความน่าเชื่อถือในคุณภาพของสินค้า เนื่องจากผ่านกระบวนการ-ขั้นตอนการผลิต และการรับรองโดยหน่วยงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับแบรนด์อื่นๆทั่วโลก แสดงถึงการเป็นที่ยอมรับของ กลุ่มผู้ประกอบการ และ ผู้บริโภคจำนวนมากด้วยเช่นกันโดยทีมงาน ได้เขียนรายละเอียด เกี่ยวกับ มาตรฐานสินค้าแม่และเด็ก ให้อ่านกันครับ

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

เครื่องปั๊มนมแบบลูกยางซิลิโคน จาก BEMEDICARE
วิธีใช้เครื่องปั๊มนม จาก MOTHERHOOD
วิธีบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ และวิธีปั๊มนมด้วยเครื่องอย่างถูกต้อง จาก Enfa A+

วิดีโอ
https://youtu.be/CzpDC7taxvw

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้