บลูพลาสเตอร์? ต่างจากพลาสเตอร์แบบอื่นยังไง ทำไมอุตสาหกรรมอาหารต้องใช้

7638 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บลูพลาสเตอร์? ต่างจากพลาสเตอร์แบบอื่นยังไง ทำไมอุตสาหกรรมอาหารต้องใช้

พลาสเตอร์ติดแผลเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ “บลูพลาสเตอร์” หรือพลาสเตอร์แบบตรวจจับโลหะได้ที่อุตสาหกรรมอาหารจำเป็นต้องใช้ อาจไม่คุ้นหูใครหลายคนนัก และแม้จะแปลเป็นภาษาไทยให้เป็น “พลาสเตอร์สีน้ำเงิน” คำแปลก็ไม่ได้บอกเราว่าสิ่งสิ่งนี้มีลักษณะอย่างไร ทำไมอุตสาหกรรมอาหารจึงต้องเจาะจงใช้สิ่งนี้ วันนี้ ทีมงาน CKKEQUIPMED จึงอยากชวนทุกท่านมาทำความรู้จักบลูพลาสเตอร์ไปด้วยกัน

สารบัญเนื้อหา

  1. มาสำรวจพลาสเตอร์ปิดแผลแต่ละชนิดกันก่อน
  2. แล้วบลูพลาสเตอร์แตกต่างจากพลาสเตอร์เหล่านี้ยังไง
    1. ลดความเสี่ยงการปนเปื้อนด้วยสีน้ำเงินและแถบโลหะ
    2. ยกระดับธุรกิจด้วยมาตรฐานอาหารไปกับบลูพลาสเตอร์
  3. สอบถามคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับบลูพลาสเตอร์

มาสำรวจพลาสเตอร์ปิดแผลแต่ละชนิดกันก่อน

พลาสเตอร์ปิดแผลในท้องตลาดมีหลายประเภทที่อาจจำแนกคร่าวๆ ได้ดังนี้

  1. พลาสเตอร์ปิดแผลที่ทำจากผ้า มักจะทนทานและใช้ได้นาน ทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูง จึงแนบผิวหนังได้ดี ทำให้มีผู้ใช้กันทั่วไป
  2. พลาสเตอร์ปิดแผลแบบพลาสติก ชนิดนี้ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน โดยมีสีเนื้อที่กลมกลืนไปกับสีผิวของผู้ติด หรือมีลวดลายที่ทำให้เด็กๆ รู้สึกดีขึ้นกับการต้องติดพลาสเตอร์
  3. พลาสเตอร์แบบกันน้ำ เหมาะกับการติดบาดแผลที่อาจโดนน้ำหรือเปียกชื้น เพื่อปกป้องความชื้นไม่ให้เข้าสู่บาดแผล

แล้วบลูพลาสเตอร์แตกต่างจากพลาสเตอร์เหล่านี้ยังไง?


(ขอบคุณภาพจาก Louis Hansel @unsplash)

พลาสเตอร์ทั้งสามประเภทสามารถใช้งานได้ดีในชีวิตประจำวัน แต่ในอุตสาหกรรมอาหาร พลาสเตอร์มีโอกาสหลุดร่วงจากบาดแผลไปปนเปื้อนอาหารและเล็ดรอดจากสายตาของผู้ผลิต เหมือนกับที่มีพาดหัวข่าวหลายครั้งว่า ผงะ! เจอ "พลาสเตอร์แผล" ใช้แล้ว ปะปนในเนื้อกุนเชียง หรือ แทบพุ่ง .. ชาวบ้านซื้อขนมตาลกิน คิดว่าไก่แต่เคี้ยวไม่ขาด ผงะที่แท้คือพลาสเตอร์ พลาสเตอร์ปนเปื้อนในอาหารอาจทำให้ชื่อเสียงของผู้ผลิตเสียหายอย่างรุนแรง


(ขอบคุณภาพข่าวพลาสเตอร์ปนเปื้อนอาหารจากไทยรัฐ)

ลดความเสี่ยงการปนเปื้อนด้วยสีน้ำเงินและแถบโลหะ

“บลูพลาสเตอร์” (blue plaster) จึงพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหาดังกล่าว สีน้ำเงินหรือสีฟ้ามักไม่ปรากฏในอาหาร ดังนั้น หากพลาสเตอร์สีน้ำเงินตกลงไปในอาหาร ก็จะสังเกตเห็นและหยิบออกมาได้ง่าย ไม่เพียงเท่านั้น บลูพลาสเตอร์ยังมีอีกชื่อ คือ พลาสเตอร์แบบตรวจจับโลหะ (metal detectable plaster) เพราะข้างใต้ตัวพลาสเตอร์จะมีแถบโลหะที่สามารถตรวจจับได้จากเครื่องตรวจจับโลหะ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้เครื่องตรวจจับโลหะกับอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของพลาสเตอร์อีกขั้นหนึ่ง

ยกระดับธุรกิจด้วยมาตรฐานอาหารไปกับบลูพลาสเตอร์

นอกจากนั้น บลูพลาสเตอร์ยังจำเป็นกับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารจำนวนมากที่จะยกระดับธุรกิจเข้าสู่ระดับสากล ดังที่ทีมงาน CKKEQUIPMED ได้เขียนถึงไว้ในบทความก่อนหน้านี้ บลูพลาสเตอร์จำเป็นกับมาตรฐานไหนบ้าง และโรงเรียนด้านความปลอดภัยอาหารก็แนะนำให้ผู้ประกอบการใช้บลูพลาสเตอร์แทนที่พลาสเตอร์ธรรมดาเช่นกัน เช่นในวีดีโอนี้

 

(ขอบคุณวิดีโอจาก Shout Out Safety)

บลูพลาสเตอร์จึงขาดไม่ได้สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ตั้งแต่ผู้ผลิตอาหาร ผู้แปรรูปอาหาร ผู้จัดจำหน่ายอาหาร และหากท่านกำลังมองหาร้านขายบลูพลาสเตอร์ บริษัท CKKEQUIPMED ยินดีให้บริการ ตอบข้อสงสัย และจัดจำหน่ายสินค้าดังกล่าว คุณลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของเราที่ บลูพลาสเตอร์ - CKKEQUIPMED หรือ บลูพลาสเตอร์ - Tigerplast หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอใบเสนอราคาได้ที่

โทร : 062-887-7665

อีเมล์ : thongchai.c@ckkequipmed.co.th

ไลน์ : ckkequipmed

 

อ้างอิง
ภาพโดย Jan Reimann จาก Pixabay

ภาพโดย croisy จาก Pixabay
https://unsplash.com/photos/ALzOa_AtV7o
https://www.youtube.com/watch?v=HjLkY_VG0TM
https://www.youtube.com/watch?v=EOswmmriawU
https://www.firstaidwarehouse.co.uk/blog/a-guide-to-different-types-of-plasters-and-when-to-use-them/
https://unsplash.com/photos/h_s7AUBPss8

 

** บทความนี้เป็นสิทธิ์ของบริษัท ซีเคเค อิควิปเมด จำกัด
สงวนสิทธิ์ทั้งบทความและภาพถ่าย ห้ามนำไปใช้ไม่ว่าจะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
ห้ามคัดลอก ดัดแปลง หรือนำไปใช้ ผู้ใดฝ่าฝืนจะดำเนินดคีตามกฏหมายอย่างถึงที่สุด
วันที่เขียน 8 กันยายน 2563 เผยแพร่ผ่าน https://www.ckkequipmed.co.th วันที่ 8 กันยายน 2563
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้