บลูพลาสเตอร์กับมาตรฐานอาหาร? บลูพลาสเตอร์จำเป็นกับมาตรฐานอาหารใดบ้าง

3350 จำนวนผู้เข้าชม  | 

บลูพลาสเตอร์ ซึ่งเป็นพลาสเตอร์สีน้ำเงิน กับรายการมาตรฐานอาหาร

ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสนใจกับความปลอดภัยของอาหารมากยิ่งขึ้น จึงเกิดมาตรฐานประกันคุณภาพอาหารที่ธุรกิจอาหารต่างๆ จำเป็นต้องใช้ ไม่ว่าจะเพื่อผลิตสำหรับจัดจำหน่ายในประเทศ หรือเพื่อส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ หรือเพื่อยกระดับสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคยิ่งขึ้น มาตรฐานเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการควบคุมสภาพแวดล้อมและขั้นตอนการผลิต บรรจุ และขนส่งอาหารให้มีความสะอาดปลอดภัย และบลูพลาสเตอร์ หรือพลาสเตอร์ปิดแผลสีน้ำเงินที่มีแถบโลหะอยู่ข้างใน ก็เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญในการยกระดับธุรกิจให้ได้มาตรฐาน

เพราะในกระบวนการผลิต พนักงานที่ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์อาจบังเอิญทำพลาสเตอร์หล่นลงไปในอาหาร ในขณะที่พลาสเตอร์ทั่วไปมักจะมีสีกลืนไปกับอาหาร จึงแยกออกมาจากอาหารได้ยาก บลูพลาสเตอร์จะมีสีน้ำเงินโดดเด่นออกมา ทั้งยังสามารถตรวจจับด้วยเครื่องตรวจจับโลหะ จึงลดโอกาสการปนเปื้อนของอาหารเมื่อเทียบกับพลาสเตอร์ทั่วไป

บลูพลาสเตอร์จึงช่วยให้ธุรกิจมีระบบการจัดการอาหารที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของมาตรฐานอาหารต่างๆ ตัวอย่างเช่น

(ขอบคุณภาพจาก Alexas_Fotos)

GMP

GMP (Good Manufacturing Practice) คือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นพื้นฐานของ HACCP หลักเกณฑ์ GMP ที่แพร่หลายที่สุดจัดทำโดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ  (หรือที่รู้จักกันในชื่อ CODEX และได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ) ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยานำหลัก GMP มาประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทยและประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมาย หัวข้อหนึ่งของ GMP ทั้งของ CODEX และของไทยคือการรักษาสุขลักษณะของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคจากบุคลากรไปสู่อาหาร หากบุคลากรมีบาดแผล ก็ต้องปิดหรือพันแผลและสวมถุงมือ ในการนี้ บลูพลาสเตอร์ย่อมเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่าพลาสเตอร์ทั่วไป

HACCP

HACCP (Hazard analysis and critical control points) คือระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ระบบ HACCP ที่แพร่หลายในระดับสากลมีผู้จัดทำหลักคือ CODEX เช่นเดียวกัน ระบบนี้ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน โดยให้ความสำคัญกับการหาจุดที่อาจเกิดการปนเปื้อนในระดับเกินกว่าที่ยอมรับได้ และควบคุมจุดนั้น และการควบคุมการปนเปื้อนจากพลาสเตอร์ปิดแผลของบุคลากรก็สามารถทำได้โดยการเลือกใช้บลูพลาสเตอร์แทน นอกจากนี้ HACCP ยังเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานอื่นๆ เช่น ISO 22000 ซึ่งเป็นมาตรฐานกลางสำหรับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

(ขอบคุณภาพจาก White.RainForest)

OHSAS 18001

OHSAS 18001 (Occupational Health and Safety Assessment Series 18001) คือมาตรฐานความปลอดภัยในที่ทำงานที่จัดทำโดย British Standards Institution แต่ปัจจุบันมาตรฐาน OHSAS 18001 ถูกยกเลิกและภายใน ค.ศ. 2021 กำลังจะแทนที่ด้วย ISO 45001 ซึ่งกว่า 70 ประเทศมีส่วนร่วมในการร่าง และปัจจุบันใช้งานในมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก มาตรฐานทั้งสองมีข้อกำหนดในการเฝ้าระวังและแก้ไขความเสี่ยงในการเกิดอันตรายกับบุคลากร รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตในที่ทำงานของบุคลากร บลูพลาสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ธุรกิจควรมีติดไว้เพื่อรับมือกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

IFS

IFS (International Food Standard) คือมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศที่ประกาศใช้โดยผู้ค้าปลีกแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและผู้ค้าปลีก-ค้าส่งแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นข้อกำหนดด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหารที่ธุรกิจต้องปฏิบัติตามหากต้องการวางจำหน่ายสินค้าในเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และประเทศในยุโรปบางประเทศ IFS ใช้ HACCP เป็นหลักเกณฑ์หนึ่งที่ต้องทำตาม ทั้งยังให้ความสำคัญกับสุขลักษณะของบุคลากร ข้อกำหนดที่ 3.2.1.5 จึงระบุอย่างชัดเจนว่า บาดแผลของบุคลากรพึงปิดด้วยพลาสเตอร์ที่มีสีและแถบโลหะ ซึ่งหมายถึงบลูพลาสเตอร์นั่นเอง

(ขอบคุณภาพจาก Clem Onojeghuo)

FSSC 22000

FSSC 22000 (Food Safety System Certification 22000) เป็นมาตรฐานรับรองความปลอดภัยและคุณภาพอาหารที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมอาหารระดับนานาชาติและสนับสนุนโดยองค์กรต่างๆ เช่น FoodDrinkEurope และ Consumer Brands Association ข้อกำหนด FSSC 22000 จะรวบรวมมาจาก ISO 22000 และ PRP ที่มีเฉพาะในแต่ละวงการ รวมถึงข้อกำหนดเพิ่มเติม หัวข้อหนึ่งใน FSSC 22000 คือการรักษาสุขลักษณะของบุคลากรและป้องกันการปนเปื้อน การใช้บลูพลาสเตอร์จึงช่วยให้ธุรกิจยกระดับความปลอดภัยในลักษณะนี้เช่นกัน

มาตรฐาน BRC

มาตรฐาน BRC (British Retail Consortium) เป็นมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยด้านอาหารที่พัฒนาโดยองค์กรผู้ค้าปลีกในสหราชอาณาจักร เช่น Tesco ใน ค.ศ. 1998 และได้รับการยอมรับทั่วโลก แม้จะไม่ใช่กฎหมาย แต่ถ้าหากผู้ผลิตอาหารต้องการจัดจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ค้าปลีกในอังกฤษและบางประเทศในยุโรป ก็ต้องทำตามข้อกำหนดนี้ BRC ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น HACCP และสุขลักษณะของบุคลากร จึงมีการระบุไว้ในข้อกำหนดที่ 7.2.3 ว่า บาดแผลของบุคลากรควรจะปิดด้วยบลูพลาสเตอร์ที่สามารถตรวจจับด้วยเครื่องตรวจจับโลหะ

แม้ว่ามาตรฐานในอุตสาหกรรมอาหารมีจำนวนมาก และแต่ละมาตรฐานก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน แต่ทุกมาตรฐานพัฒนาขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัยของอาหารและบุคลากร และยกระดับธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร บลูพลาสเตอร์ที่ลดโอกาสการปนเปื้อนของอาหารจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจของท่าน  หากคุณลูกค้ากำลังมองหาบลูพลาสเตอร์ บริษัท CKKEQUIPMED พร้อมให้บริการคุณลูกค้า คุณลูกค้าสามารถซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ของเราที่ บลูพลาสเตอร์ - CKKEQUIPMED หรือ บลูพลาสเตอร์ - Tigerplast หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอใบเสนอราคาได้ที่

โทร : 062-887-7665

อีเมล์ : thongchai.c@ckkequipmed.co.th

ไลน์ : ckkequipmed

อ้างอิง

https://www.brcgs.com/media/63857/brctag-guidance-document.pdf

http://www.nfi.or.th/foodsafety/upload/qs/pdf/BRC_issue%205-2.pdf

https://www.fssc22000.com/scheme/

https://www.ifs-certification.com/images/standards/ifs_food6_1/documents/standards/IFS_Food_V6_1_en.pdf

http://reg3.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2018/12/PPT_ISO_45001_25Dec2018_handout.pdf

http://www.nfi.or.th/foodsafety/upload/qs/pdf/IFS_version5%20-%202.pdf

http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/fq141_p58-60.pdf

https://www.bsigroup.com/en-GB/ohsas-18001-occupational-health-and-safety/

http://www.nfi.or.th/foodsafety/upload/qs/pdf/ISO_22000%20-%202.pdf

http://taxclinic.mof.go.th/pdf/4355CE32_E2AC_B968_094F_5649DD3B9CC1.pdf

http://www.nfi.or.th/foodsafety/upload/qs/pdf/HACCP_2.pdf

http://food.fda.moph.go.th/data/document/2554/GMP4-2_LAW_Information.pdf

http://certify.dld.go.th/certify/images/download/export0661/6_2PrinciplesHACCP.pdf

https://unsplash.com/photos/4pF3eQulCQw

https://pixabay.com/images/id-2615482/

https://unsplash.com/photos/qCDK3DN7lOs

https://unsplash.com/photos/RwjciZ9JEfg

** บทความนี้เป็นสิทธิ์ของบริษัท ซีเคเค อิควิปเมด จำกัด
สงวนสิทธิ์ทั้งบทความและภาพถ่าย ห้ามนำไปใช้ไม่ว่าจะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด
ห้ามคัดลอก ดัดแปลง หรือนำไปใช้ ผู้ใดฝ่าฝืนจะดำเนินดคีตามกฏหมายอย่างถึงที่สุด
วันที่เขียน 15 ตุลาคม เผยแพร่ผ่าน https://www.ckkequipmed.co.th วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้